วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ตอบปุ๊ก ขยายความหนังสือ "โรงเรียนพ่อแม่"

เรียนพี่ใหญ่ สวัสดีค่ะ

 

นี่คือที่ดึงออกมา 3-4 ประเด็น และอยากให้พี่ใหญ่เขียนเพิ่มให้จนจบกระบวนความในเรื่องนั้นค่ะ เพราะมันจะได้สมบูรณ์ในตัวของมันเอง [ณ ตอนนั้น ก็ยังดี]  เพราะในเนื้อหามันจะขาด แล้วก็จบห้วน ไว้แค่นั้น จนอ่านไม่เข้าใจและค้างคา แม้ปุ๊กพยายามจะหาที่อื่นมาต่อเพื่อให้มันสมบูรณ์ โดย search จากใน       เวบที่กล่าวถึงตามวาระต่าง แต่ก็หาที่ต่อกันเนียน ไม่ได้เลย สุดท้าย เลยต้องรบกวนพี่ใหญ่ค่ะ

 

แล้วแต่พี่ใหญ่จะเห็นสมควร หรือพิจารณานะคะ เกรงใจมาก ค่ะ

 

 

เรื่องที่ ๑

 

การหล่อเลี้ยงสภาวะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของเด็ก

วิศิษฐ์ : ในหนังสือ Magical Parent, Magical Child ของเพียซและเมนติสซ่า กล่าวโดยสรุปแล้วเนื้อหาหลักๆ ทั้งเล่มจะพูดถึงอยู่เรื่องเดียวที่สำคัญมาก นั่นคือ สภาวะที่เด็กจะสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุด หรือ Optimum learning state

             ผมมานั่งอ่านหนังสือเล่มนี้อีกครั้งแบบที่ไปสอนให้คนอื่นอ่าน คือเปิดหน้าแบบผ่าน ๆ แล้วดูว่าอยากอ่านหน้าไหน ก็อ่าน
ก็มาเจอหน้าที่พูดถึงเกี่ยวกับ Motivation หรือแรงขับ ที่พวกเขาแบ่งออกเป็นสองอย่าง คือแรงขับภายนอกกับแรงขับภายใน พวกเขาพูดถึงแรงขับดันที่จะทำให้เด็กเรียนรู้สองอย่าง สองประเภทนี้ว่าแตกต่างกันอย่างกับฟ้ากับดิน แรงขับดันที่มาจากข้างนอก จะมาจากพ่อแม่หรือสังคมก็ตาม ลึก ๆ แล้วแฝงฝังอยู่ด้วย “ความกลัว” ความกลัวว่าลูกจะไม่ดี สู้เขาไม่ได้ ก็ใช้ “รางวัลและการลงโทษ” ในการขับเคลื่อนลูก สองนักเขียนนี้ บอกเราว่า แม้การให้รางวัล หรือการที่เด็กคนหนึ่งได้รับรางวัล แท้ที่จริงก็มีการข่มขู่อยู่เบื้องหลังนั่นเอง คือรางวัลเป็นเครื่องยืนยันถึงการมีอยู่ของการลงโทษ หรือโอกาสที่เป็นไปได้ที่เด็กคนนั้นจะถูกลงโทษเมื่อทำอะไรไม่ได้ดี


ผลเสียของแรงขับดันภายนอกอีกประการหนึ่ง ผมอยากจะเพิ่มไว้ตรงนี้ ในความคิด และการค้นคว้าของผมเองว่า มันเป็นเคลื่อนย้ายการกำกับทิศทางของตัวเอง ของเด็ก ไปสู่การมอบบังเหียนให้พวงมาลัย ไปให้คนอื่น อาจจะเป็นพ่อแม่ ครู หรือใครก็ตาม เขาหรือเธอจะเลิกฟังเสียงภายในของตัวเอง ทำให้บางทีเสียงของตัวเองก็หายไป คงไว้แต่เสียงของผู้อื่นและเสียงของสังคม เสียงของตัวเองจะไปพร้อมกับแรงบันดาลใจ หรือ เจตจำนง ซึ่งเป็นแรงขับดันสำคัญในการสร้างวินัย ที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตและการงาน

 

สำหรับแรงขับภายในนั้น มันจะเกิดขึ้นเมื่อ เราฟังเสียงของตัวเอง เมื่อพ่อแม่ ครูและผู้ใหญ่อื่น ๆ ได้ให้พื้นที่ ที่ปลอดภัย ให้เด็ก ๆ ได้กำกับทิศทางการเรียนรู้ของตัวเอง หัดให้ได้ฟังเสียงของตัวเอง เด็กก็จะเริ่มสัมผัสกับโลกภายในของเขา พื้นที่ปลอดภัย ที่จะให้เขาทำอะไรด้วยตัวเอง ทุกครั้งที่เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ตัดสินเรื่องราวในชีวิต ในการงานของพวกเขาเอง นั่นคือการเรียนรู้อันยิ่งใหญ่ทุก ๆ ครั้งไป เราค่อย ๆ เปิดพื้นที่ให้เขา แล้วจะเห็นความสวยงามว่า ที่จริงเขาสามารถตัดสินได้ในหลากหลายเร่ืองราว ได้มากกว่าที่เราคิด และได้ดีกว่าที่เราคิดด้วยซ้ำไป

 

เมื่อมีพื้นที่ปลอดภัยเช่นนี้ เมื่อเด็กได้เป็นองค์กรจัดการตัวเองเช่นนี้ พวกเขาก็จะเข้าไปอยู่ในโหมดปกติ และในความเป็นโหมดปกตินั้น เมื่อเขาสนใจอะไรมาก ๆ พลังชีวิตของเขาก็ขับเคลื่อนให้เขาไปอยู่ในสภาวะการเรียนรู้ที่ดีที่สุด หรือ Optimum Learning State นั้นเอง

 

......................(ส่วนแรงขับดันภายใน............จะเขียนต่อไหมคะ...........)

 

 

 

 

 

[และจริง อยากให้บอกเลยด้วยค่ะว่า   Optimum learning state
ที่พี่ใหญ่สรุปออกมาได้ทั้งหมดนั้น น่าจะอยู่ในสภาะวะใด
ได้อีกบ้างค่ะ]

 

 

 

 

**********************************

เรื่องที่ ๒ Bonding และ attachment

 

แฟนของลูก

ครูณา  :  คุณแม่ท่านหนึ่งไม่สบายใจ เนื่องจากลูกสาวของตนพึ่งเรียนอยู่ชั้น ม.๓  แต่กำลังมีแฟน และแม่เป็นห่วงมากเพราะคิดว่ายังไม่ถึงเวลา และเกรงว่าจะทำอะไรเกินเลยไป  หลังๆ เริ่มจับได้ว่าโกหกว่าไปเรียนพิเศษ แต่แม่คิดว่าไม่ได้ไป  หลังจากเล่าเสร็จ ก็มีท่านหนึ่งเล่าต่อให้ฟังว่า สมัยที่ลูกเขามีแฟน เขารู้สึกว่า เขาจะต้องใกล้ชิดลูกให้มากที่สุดและต้องยอมทำสิ่งที่ลูกขอบ้าง  บางวันลูกขอให้พาไปส่งที่อุทัย เพื่อไปหาแฟน เขาก็พาไป แล้วนั่งรอ ตอนหลังลูกก็ไม่มีอะไร พอเห็นแม่ไว้ใจ เขาก็กล้าเปิดเผยเล่าให้ฟัง  ณาคิดว่าเห็นด้วยนะ  ความรักของวัยรุ่นแบบ puppy love มันค่อนข้างสั่นไหวรุนแรง  การห้ามอาจจะเป็นการผลักไสลูกออกไปจากตัวเราก็ได้  แล้วเขาก็ยิ่งปิดบัง สุดท้ายก็โกหกมากขึ้น  พ่อแม่คงต้องกระโดดเข้าไปสนุกกับเขา ฟังเขาเล่าเรื่องแฟน  หรือชวนกันมากินข้าว จะได้รู้จักอีกฝ่ายได้มากขึ้น  หรือคิดว่าอย่างไรกันบ้างคะ

 

วญ :  ผมกำลังอ่าน To Magical Teen ของเพียซ และเพิ่งได้หนังสือมาอีกเล่มจากคุณสมพล ชื่อ Evolve Your Brain โดย Joe Dispenza คนนี้อยู่ในทีมทำหนังเรื่อง What the bleep do we know!?

ผมกำลังหาความแตกต่างระหว่าง Bonding กับ Attachment 

 

อันแรก Bonding  มันเป็นปัจจัยเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับเด็กๆ แต่อันหลัง มันเกิดจากความพร่องทางจิต จิตวิทยา ที่ทำให้นำพาไปสู่ชีวิตที่เสพติด บริโภคนิยม วัตถุนิยมแบบแข่งขันที่รุนแรง ผมเห็นว่า ใน Evolve Your Brain ก็มีเรื่องคล้ายคลึงกันอยู่ ..............(พี่ใหญ่จะเขียนต่อไหมคะ  เพราะคิดว่าน่าสนใจมากค่ะ ....... โดยถ้ามันเกี่ยวกันกับเรื่องแฟนด้วย ปุ๊กก็ว่าจะเอาไว้ตรงนี้เลย  แต่ถ้าอาจไม่เกี่ยวกัน เป็นเรื่องอื่นไปเลย ปุ๊กจะย้ายไปขึ้นเป็นหัวข้อย่อยใหม่ ให้เลยค่ะ  หรือพี่ใหญ่ว่าอย่างไร)................................

 

[พอดีเห็นพี่ใหญ่แปลอันนี้เข้ามาด้วย เลยดึงมาไว้ให้ค่ะ แต่ถ้าพี่ใหญ่จะเขียนใหม่ให้มันเป็นเรื่องเดียวกัน พี่ใหญ่เขียนใหม่เป็นภาษาของพี่ใหญ่เอง ให้มันง่าย หน่อยได้ไหมคะ เพราะอันนี้ไม่เข้าใจแน่นอนค่ะ]

 

ความผูกพันหรือการติดแจ

จาก From Magical Child to Magical Teen โจเซฟ ชิลตัน เพียซ หน้า 26-27

“การเรียนรู้เป็นกระบวนการเคลื่อนย้ายจากที่ ๆ เรารู้ไปสู่ที่ ๆ เราไม่รู้ บุคคลที่ได้รับการพันผูกหรือ Bonding เอาไว้ จะทำการเคลื่อนย้ายเช่นนั้นเกิดขึ้นได้ ก็เพราะว่า เขาสามารถดำรงอยู่ในโลกแห่งความสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่โลกทางกายภาพ หากแต่การดำรงอยู่เช่นนั้น เป็นการขีดเส้นใต้ไว้ให้แก่โลกทางกายภาพ อยู่ตลอดเวลา(ด้วยความเข้าใจในแบบแผนแห่งความสัมพันธ์อันนั้น)”

 ขยายความทีละตอนอย่างนี้นะครับ เพราะทั้งเพียซและเมนดิสซ่าเขียนไว้ดีมาก หากกระชับและสั้นไปหน่อย ภาษาก็ยากนิดหนึ่ง จำต้องขยายความนะครับ


บีเขาได้ถอดบันทึกเสียงที่เราพูดคุยกันเรื่องนี้ไว้ ผมกล่าวว่า


“เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ จะเรียนรู้อย่างแท้จริงได้ เราต้องกลับไปหาฐานเดิมของตัวเองที่มีอยู่ ทุนเดิมของตัวเองที่มีอยู่ เราจะเรียนรู้ได้จะเปลี่ยนแปลงได้ ต้องกลับไปหาฐานเดิม ทุนเดิมที่มีอยู่ ที่บีพูดเรื่อง 30% ของเด็กพิเศษ แต่คนอื่นเค้าไปเน้นที่ 70% เธอทำอันนี้ไม่ได้ อันนี้แย่ อันนี้ไม่ได้เรื่อง บีกลับไปหา 30% ที่เค้าทำได้ กลับไปหาทุนเดิมของเค้า แล้วตรงนี้เสียงของเค้าเองปรากฏ ทีนี้ เค้าเริ่มมั่นใจ เค้าเริ่มเห็นว่าตัวเองทำอันนั้นได้ อันนี้ได้ ทันทีที่เค้ามั่นใจเนี่ย optimum learning state ก็ปรากฏแล้ว” 

อันนี้ขยายความท่อนแรก ส่วนท่องที่สองก็สำคัญและยากมากด้วย


“จะทำการเคลื่อนย้ายเช่นนั้นเกิดขึ้นได้ ก็เพราะว่า เขาสามารถดำรงอยู่ในโลกแห่งความสัมพันธ์”


คือการเคลื่อนย้ายจากท่ี ๆ รู้ ไปสู่ที่ ๆ ไม่รู้ นั้น อาศัยการมองเห็นความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์เป็นคำหลัก คำหลักที่ทำให้การเคลื่อนย้ายอันนั้นเป็นไปได้ การเคลื่อนย้ายอันนี้ คือหัวใจของการเรียนรู้ที่แท้จริงทั้งหมด การเรียนรู้ที่แท้จริงทั้งหมด เกิดขึ้นตรงนี้เอง เกิดขึ้นผ่านกระบวนการนี้เอง คือกระบวนการแห่งความสัมพันธ์ 


และที่พวกเขากล่าวว่า

“จะทำการเคลื่อนย้ายเช่นนั้นเกิดขึ้นได้ ก็เพราะว่า เขาสามารถดำรงอยู่ในโลกแห่งความสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่โลกทางกายภาพ หากแต่การดำรงอยู่เช่นนั้น เป็นการขีดเส้นใต้ไว้ให้แก่โลกทางกายภาพ อยู่ตลอดเวลา(ด้วยความเข้าใจในแบบแผนแห่งความสัมพันธ์อันนั้น)”


มันหมายความว่า ความสัมพันธ์นั้น กระบวนการแห่งความสัมพันธ์ การได้เรียนรู้จักกระบวนการแห่งความสัมพันธ์นั้น มันมาช่วยให้ความกระจ่าง ช่วยตีความให้กับสิ่งท่ีเกิดขึ้นทางกายภาพ คือเอาง่าย ๆ หากเราเห็นสิ่งเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา เห็นพฤติกรรมของผู้คน หากเราไม่มีแบบแผนแห่งความสัมพันธ์อยู่ในโลกภายในของเรา พฤติกรรมเหล่านั้นล้วนปราศจากความหมาย เราไม่อาจเข้าใจมันได้


และกระบวนการแห่งความสัมพันธ์นั้นมันวิเศษกว่าที่เราคิด ที่เราเข้าใจ มากมายมหาศาล เรา take it for granted คือมันอยู่กับเรามา แต่เราเป็นเด็กน้อยที่ไม่รู้ความ มันเลยคล้ายกับว่า เป็นของตาย take it for granted นี่แปลว่า “เป็นของตาย” อย่างไรก็ได้ อย่างไรก็มี จนไม่เห็นคุณค่าของมัน 


ทีนี้เราจะถามว่า มันวิเศษอย่างไรนะ วิเศษมากขนาดนั้นเลยหรือ? หากไม่มีกระบวนการเช่นนี้ ปัญญาอันวิเศษยิ่งในมนุษย์จะก่อเกิดขึ้นมาได้อย่างไร มันก็เลยต้องมีคุณสมบัติอันนี้ขึ้นมาในตัวมนุษย์อย่างไรเล่า


ผมชอบคำว่า ความสัมพันธ์ที่ขีดเส้นใต้ ประสบการณ์ทางกายภาพอยู่ หากไม่มี ความสัมพันธ์ที่ขีดเส้นใต้อยู่ เราก็จะไม่อาจเข้าใจอะไรได้เลย ความสัมพันธ์ เป็นการประมาลผลในสมองชั้นกลางก่อน แล้วเข้ามาในสมองซีกขวา สมองชั้นกลางคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กายภาพนั้นมาจากสมองชั้นต้น ต้องเอามาประมวลผลอย่างละเอียดขึ้นอีกหนึ่งชั้น เพ่ิมคุณภาพขึ้นอีกหนึ่งชั้น อันนี้คือความแตกต่างระหว่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่แตกต่างออกมาจากสัตว์เลื้อยคลาน ที่มีแต่สมองชั้นต้น ถ้าเทีียบ สมองชั้นต้นเป็น Operating System คือทำงานกับการรับรู้ทางกายภาพแบบดิบ ๆ แล้วอาจจะประมวลผลมาชั้นหนึ่งแล้ว มิฉะนั้น จรเข้ก็คงแยกไม่ออกระหว่างอาหารกับสิ่งที่กินไม่ได้กระมัง แล้วในสมองชั้นกลาง มันก็ประมวลผลอย่างละเอียดเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง คือทำให้วัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาในแบบแผนต่าง ๆ ที่เรียกกระบวนการนี้ว่า Patterning แล้วในสมองชั้นนอกซีกขวาการประมวลผมก็ย่ิงละเอียดขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น ก้าวกระโดดทางคุณภาพมาอีกขั้นหนึ่ง อันนี้ น่าจะเป็นสัญญา หรือความจำได้หมายรู้แล้ว ในชั้นนี้


ทีนี้ความละเอียดอ่อนซับซ้อนอันนี้ มันมีสภาวะ “ไหลเลื่อน เคลื่อนที่ เปลี่ยนแปลง เชื่อมโยง” มัน  Patterning and Re-patterning หรือ สร้างแบบแผน แล้วรื้อสร้างแบบแผนอยู่ตลอดเวลา ส่ิงนี้ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ เพราะว่า มันต้องเลื่อนไหลไปตามสภาวะความเป็นจริง ที่เป็นไตรลักษณ์คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา หรือ สภาพที่ทนความบีบคั้นให้คงที่อยู่ไม่ได้ จึงไหลเลื่อน เคลื่อนที่ เปลี่ยนแปลง เชื่อมโยง ความละเอียดอ่อนของสมองมนุษย์ก็ไปได้ถึงขั้นนี้ แต่จะต้อง unblock หรือ เอาตัวขวางกั้นออก แล้วเราก็จะเข้าสู่สภาวะการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ Optimum Learning State



แต่เราไม่ได้พร้อมมาแต่เกิด เรามีฮาร์ดแวร์มา แต่ต้องมาปลุกให้ฮาร์ดแวร์นั้นทำงานได้ และต้องเชื่อมโยงซอฟต์แวร์เพิ่มเติมเข้ามา เราอาจจะมีซอฟต์แวร์บางระดับแล้ว แต่ต้องมาเชื่อมโยง ผ่าน “ความสัมพันธ์” ความสัมพันธ์อุปมาอุปไมยคล้ายเสียบปลั๊ก หรือ connected คือเชื่อมต่อ เชื่อมโยง


ในวอยซ์ไดอะล็อคจะพูดถึง energetic linkage คือการเชื่อมต่อความสัมพันธ์ หรือท่อแบบแผนของพลังงานเข้าด้วยกัน แล้วมันต่อความสัมพันธ์แบบความสัมพันธ์ด้วยใจ ใจถึงใจ แล้วการถ่ายเทข้อมูลลึก ๆระหว่างคนสองคนก็เกิดขึ้น 


ตรงนี้มันไปพ้นความคิด มันไม่ได้คิด มันมาเป็นความเข้าใจบางอย่าง ส่งต่อระหว่างคนได้ แล้วมันมาเป็นต้นแบบให้เราเข้าใจเร่ืองราวต่าง ๆ ที่จะตามมา มันกลายมาเป็นพื้นฐานซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้เราเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ มากมายอันละเอียดอ่อนที่จะตามมา


วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2551


“หากถ้าเรายังดำรงอยู่ในสภาวะแห่งความผูกพันนี้ไซร้ เมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งใดก็ตาม บุคคลผู้นั้น ก็จะสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์นั้นได้ โดยไม่ได้กระทำการ อย่างเป็นไปแบบเป็นเพียงปฏิกิริยา ความผูกพันทำให้สามารถไหลไปตามเหตุการณ์ได้โดยเป็นไปในระดับ precursive level หรือในระดับ ก่อนที่จะเข้าไปใช้ความคิดกับเหตุการณ์นั้น ๆ”


แล้วเพียซกับเมนดิสซ่าก็พูดดังข้อความข้างบนนี้ 


การดำรงอยู่ในความผูกพันธ์ หรือใน “ความสัมพันธ์” นี้ มันพิเศษยิ่ง มันเป็น energetic linkage หรือการเชื่อมต่อท่อแห่งแบบแผนพลังงาน มันไม่ต้องผ่านการคิด มันยังไม่ได้ผ่านการคิดด้วยซ้ำ มันเหมือนต่อท่อตรง มันเหมือนคนสองคนกลายเป็นคนเดียวกัน ดังตัวอย่างแม่อัฟริกัน ที่เอาลูกน้อยแขวนไว้กับตัว และไม่ต้องใช้ไดอะเป้อ มีฝรั่งไปถามว่า ทำไมรู้ว่า ลูกต้องการจะฉี่จะอึได้อย่างไร แม่อัฟริกันถามกลับมาว่า แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่า  ตัวเองจะฉี่จะอึเมื่อไร คำถามกลับนี้บอกอะไรกับ มันบอกว่า คนสองคนนี้ เป็นคน ๆ เดียวกันไปแล้ว ไม่ต้องบอกไม่ต้องสังเกตอะไรทั้งสิ้น มันรู้ขึ้นมาเอง เพราะทั้งสองต่อท่อตรงถึงกัน จะเป็นท่อก็ได้ เป็นสายก็ได้ แล้วแต่เราจะอุปมาอุปไมย 


พวกเขาทั้งสองพูดว่า  


“ความผูกพันทำให้สามารถไหลไปตามเหตุการณ์ได้โดยเป็นไปในระดับ precursive level หรือในระดับ ก่อนที่จะเข้าไปใช้ความคิดกับเหตุการณ์นั้น ๆ”


คือมันได้หล่อหลอม ไหลไปด้วยกัน ไหลไปตามเหตุการณ์ เป็นหนึ่งเดียวกับเหตุการณ์โดยไม่ต้องคิด ยังไม่ต้องคิด มันรู้สึก สัมผัสได้ ทันทีทันใด เช่นนั้นเอง


“บุคคลผู้นั้น ก็จะสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์นั้นได้ โดยไม่ได้กระทำการ อย่างเป็นไปแบบเป็นเพียงปฏิกิริยา”


อันนี้สำคัญมาก เมื่อเป็นหนึ่งเดียวกับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ เราก็ไม่ต้องคาดคิด ไม่ต้องกะเก็ง อย่างเช่นการเก็งกำไรอะไรอย่างนั้น และการตอบสนองหรือโต้ตอบ ก็จะไม่เป็นปฏิกิริยา คำว่า โต้ตอบอย่างเป็นปฏิกิริยานั้น หมายความว่า มันเป็น reactionary คือมันไม่ได้ตอบเรื่องราวอย่างเพียงพอ แต่มันเป็นอาการทางจิตวิทยา ในความหมายที่ว่า เราตอบโต้อะไรบางอย่าง หนึ่ง อย่างเป็นอัตโนมัติ และสอง อย่าง ออกไปจากจุดบอดทางจิตใจของเรา ไม่ได้มาจากปัญญาที่แท้จริง และสาม เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็ไม่ได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาแต่อย่างใด


ตรงกันข้าม เม่ือเราต่อท่อตรงได้ ใน “ความสัมพันธ์” ใน “เยื่อใยแห่งความผูกพัน” ด้วยความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย และมีพื้นที่เป็นของตัวเอง ไม่ได้ฝืนหรือจำยอมในความสัมพันธ์นั้น ๆ เราจะมีอิสระ เราจะมีความตื่นรู้ เราจะตอบสนองต่อเรื่องราว เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ได้อย่างเผชิญหน้า ได้อย่างไม่กลัว ไม่มีความวิปลาสในจิต หรือก็คือ ไม่มีจุดบอด จิตของเราเปรียบประดุจกระจกใส ส่องกระทบเรื่องราวต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมา จิตจึงเกิดปัญญา ปัญญาที่จะตอบต่อเรื่องราวได้พอดี ๆ ตรงประเด็น ตรงวาระ ไม่ผิดเพี้ยน ตรงต่อเวลา เหมาะเหม็งพอดี ๆ 


เพียซและเมนดิสซ่าได้พูดต่อไปว่า

“แต่สำหรับ attached person หรือคนที่ติดแจ จะวิเคราะห์เหตุการณ์ก่อนล่วงหน้า คาดคำนวณผลที่อาจจะเกิดขึ้น (อาศัยความคิดคาดคำนวณ-ผู้แปล) พยายามจะเข้าไปกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในความเลื่อนไหล เพื่อจะเข้าไปปรับเปลี่ยนมัน เพื่อให้เกิดผลที่น่าพึงพอใจกว่า ด้วยอาการของคนติดแจแบบนี้ มันจะเป็นการเข้าไป เมื่อได้วิเคราะห์ข้อเท็จจริงแล้ว หรือเข้าไปหลังจากได้รับข้อเท็จจริง ซึ่งก็คือการเข้าไปวุ่นวาย ด้วยความพยายามของความคิด จึงเป็นการก่อกวน (สายธารแห่งเหตุการณ์-ผู้แปล) และมักจะสายเกินไปที่จะไปแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และในเวลาเดียวกัน ก็เท่ากับเป็นการเข้าไปขวางสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป คนที่ติดแจคน พยายามจะรวบสิ่งที่ไม่รู้ให้กลับมาเป็นสิ่งที่ล่วงรู้ให้ได้ พยายามจะบีบคั้นประสบการณ์ ให้เข้ามาอยู่ในกรอบแข็งของข้ออ้างอิง ที่มั่นคงและมีเสถียรภาพทั้งหลาย”


มันเหมือนกับการใช้เครื่องมือไม่ถูกกับการงาน ลึกที่สุดของการจะหยั่งเข้าไปในเหตุการณ์และล่วงรู้ อย่างทันท่วงที สามารถเข้าไปกระทำการได้อย่าง พอเหมาะพอดีกับจังหวะของกาลเวลาและเรื่องราว วาระ ประเด็น ย่อมต้องการการรับรู้เรียนรู้อีกแบบ อาศัยซอฟต์แวร์อีกตัว ตรงนี้ นักคิดค้นทั้งสองพูดต่อว่า 



“ซึ่งหมายถึงสิ่งที่สัมผัสได้ทางกาย อันเป็นรูปธรรม สิ่งที่ขีดเส้นใต้อยู่ของเหตุการณ์ และธรรมชาติที่เป็นเนื้อแท้ของเหตุการณ์ ก็คือแบบแผนแห่งความสัมพันธ์ กล่าวได้ว่า มันอยู่ในรูปของคลื่นมากกว่าอนุภาค เป็นนามธรรมมากกว่ารูปธรรม”

เครื่องมือที่ถูกต้องเหมาะสมกับงาน ก็คือ “ความสัมพันธ์” คือ “Bonding” นั้นเอง ความคิดวิเคราะห์ ตรรกะ เป็นเครื่องมือของสมองซีกซ้าย ในส่วนของปริมณฑลแห่งการ “รู้แล้ว” เป็นความคิดที่ตายแล้ว ไม่มีชีวิตชีวา แต่ในความสัมพันธ์ เป็นอะไรที่มีชีวิต เป็นอะไรที่สลับซับซ้อน เป็นคณิตศาสตร์เชิงซ้อน หรือ Complex Mathematics ไม่ใช่คณิตศาสตร์แบบเรขาคณิต เป็น Fractal Mathematics ของระบบไร้ระเบียบ ที่มีระเบียบในความเป็นองค์กรจัดการตัวเองของสิ่งมีชีวิต ซึ่ง เป็นระดับลึกขององค์กรจัดการตัวเองของจักรวาลเช่นเดียวกัน มันจึงอ่านความเป็นไปของโลกได้ อ่านความเป็นไปของระบบชีวิตอื่นได้ อ่านวาระของผู้คนได้ อย่างพอดิบพอดี ทั้งวาระและกาละ มันจึงเข้าไปปฏิสัมพันธ์กับโลกและผู้คนได้อย่างสามารถตอบสนอง ตอบต่อวาระของผู้คนและโลกได้จริง ๆ ไม่ใช่การคาดการที่ผิดพลาด บิดเบี้ยว ไม่ลงตัว ไม่ถูกกาละเทศะ อย่างที่กระบวนการคิดของสมองซีกซ้าย ในส่วนของความรู้และความคิด ที่ตายแล้ว พยายามจะลำเลียงออกมา 


ความรู้และความคิดที่ตายแล้ว มีที่ทางการทำงานของมัน เมื่อเรามีสิ่งที่รู้แล้ว เราสามารถเปรียบเทียบได้ว่า อะไรที่ยังไม่รู้ และส่วนที่ยังไม่รู้จะได้รับการตอบสนองด้วยการทำงานของสมองส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด ที่ร่วมกันแสวงหาคำตอบ แต่เมื่อเราเอาความคิดและความรู้ ประเภท “รู้แล้ว” “ตายแล้ว” มาใช้ไม่ถูกที่ เราย่อมจะพบกับความผิดหวัง เมื่อผิดหวัง โดยเฉพาะในความสัมพันธ์ เราก็ยิ่งจะพยายามไขว่คว้า แต่ด้วยวิถีเก่าที่ล้มเหลว ทำให้เราโหยหิว “ความสัมพันธ์” ที่เราไม่มีมา เราเกิดอาการติดแจ หรือพยายามยึด พยายามเหน่ียวรั้งความสัมพันธ์ที่ไม่มีอยู่จริง หิวโหย แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง คาดการแต่ไม่ได้สามารถก่อผลที่ต้องการได้ เป็นความทุกข์ในนรกนิรันดร์อย่างไม่อาจจะหาความสุขใดมาดับกระหายได้ นอกจากจะค้นพบทาง เข้าสู่ “ความสัมพันธ์” นั้นอีกครั้งหนึ่ง




 คนที่ติดแจ ไม่สามารถ หรือที่จริง ได้ประสบความล้มเหลวไปแล้ว ที่จะหลอมรวมเอาแบบแผนแห่งความสัมพันธ์นี้ เข้ามาในการตีความโลก หรือมองโลกของเขา อันนี้จึง ทำให้การเรียนรู้เป็นไปได้ยาก”